"บุตรบุญธรรม" คืออะไร ต่างจาก "บุตร" อย่างไร มี หรือไม่มีสิทธิอะไรบ้าง

"บุตรบุญธรรม" คืออะไร ต่างจาก "บุตร" อย่างไร มี หรือไม่มีสิทธิอะไรบ้าง

ในปัจจุบันหลายๆ คนประสบปัญหามีบุตรยาก วิธีหนึ่งที่จะตอบสนองความต้องการมีบุตรเป็นของตนเองได้นั้นคือการรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงดู แต่หลายคนก็สงสัยว่าบุตรบุญธรรมนั้นแตกต่างจากบุตรทั่วไปอย่างไร มีสิทธิ หรือไม่มีสิทธิอะไรบ้าง

บุตรบุญธรรมคืออะไร

บุตรบุญธรรม คือ บุตรที่ขอมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นบุตรตน และได้จดทะเบียนตามกฎหมาย

บุตรคืออะไร

บุตรมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า ปุตฺร (อ่านว่า ปุด-ตฺระ) แปลว่า ผู้ที่ต้องป้อนนมป้อนน้ำให้ หมายถึง ลูกหรือลูกชาย. ในภาษาไทย บุตร มีความหมายเหมือนภาษาสันสกฤต แต่นิยมใช้ในวรรณกรรม หรือใช้เป็นภาษาทางการ เช่น บุตรของเศรษฐีมหาศาลแห่งมิถิลานคร เมื่อตอนที่เกิดได้ถือแท่งยาใหญ่ติดมือมาด้วย บิดาจึงให้ชื่อว่า มโหสถ หนุ่มสาวที่แต่งงานเมื่ออายุยังน้อย ควรวางแผนมีบุตรเมื่อฐานะการเงินพร้อม ในวรรณคดี นอกจากใช้ บุตร แล้ว ยังใช้รูป บุตรา ด้วย ดังในเรื่องสังข์ทอง ท้าวยศวิมล (อ่านว่า ยด-สะ -วิ-มน) บวงสรวงขอบุตรจากเทพยดาว่า

ข้าไซร้ไร้บุตรสุดสวาท จะบำรุงราษฏร์ไปภายหน้า

พระเสื้อเมืองเรืองชัยได้เมตตา ขอให้เกิดบุตรายาใจ

บุตรใช้ได้ทั้งลูกชายและลูกสาว แต่ถ้าต้องการเจาะจงเพศชายอาจใช้ว่า บุตรชาย

ถ้าต้องการเจาะจงเพศหญิง อาจใช้ว่า บุตรี หรือ บุตรสาว เช่น นางอองซานซูจีเป็นบุตรีเพียงผู้เดียวของนายพลอองซานผู้นำการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ

สิทธิของบุตรบุญธรรมมีอะไรบ้าง

บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาหรือมารดาบุญธรรม เป็นต้น แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้บุตรบุญธรรมสูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา และบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันที่เด็ก (ผู้เยาว์) เป็นบุตรบุญธรรม


การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรม คือบุตรที่ขอมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นบุตรตน และได้จดทะเบียนตามกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้


          1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
          2. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะต้องลงนามให้ความยินยอมด้วย
          3. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
          4. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอยู่แล้ว จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
          5. พระภิกษุจะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ได้
          6. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา-มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม โดยให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมยื่นเรื่องราว ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ในบริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี)

หลักฐานที่ต้องใช้


          1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
          2. สำเนาทะเบียนบ้าน
          3. พยานอย่างน้อย 2 คน
          4. เอกสารการสมรสกรณีมีคู่สมรส หรือเอกสารการหย่า (ถ้ามี)

คุณกำลังดู: "บุตรบุญธรรม" คืออะไร ต่างจาก "บุตร" อย่างไร มี หรือไม่มีสิทธิอะไรบ้าง

หมวดหมู่: ผู้หญิง

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด