เปิดความหมายกั้น "ประตูเงินประตูทอง" ในงานแต่งงานคืออะไร ควรมีกี่ประตูกันแน่

เปิดความหมายกั้น "ประตูเงินประตูทอง" ในงานแต่งงานคืออะไร ควรมีกี่ประตูกันแน่

การกั้นประตูเงินประตูทอง ถือเป็นหนึ่งในอันดับพิธีสำคัญของงานแต่งงานแบบไทยที่หลายคนรอคอย โดยการกั้นประตูเงินประตูทองนั้นเป็นธรรมเนียมที่เรียกความสนุกสนานให้กับพิธีแต่งงานแบบไทย แต่ทราบหรือไม่ว่าตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกต้องตามประเพณีแล้วการกั้นประตูเงินประตูทองนั้นควรมีประตูเงินประตูทองกี่ประตู

ประตูเงินประตูทองควรมีกี่ประตู

หากถือตามประเพณีดั้งเดิมของไทย เมื่อมีการจัดงานแต่งงานมักนิยมกั้นประตู 3 ประตูคือ

ประตูชัย : โดยผู้กั้นประตูจะถือชายผ้าคนละข้าง หรือจะเรียกการกั้นประตูในชั้นแรกนี้ว่า "การปิดประตูขันหมาก" สำหรับบริเวณประตูนี้จะมีการต่อรองเกิดขึ้นตามบรรยากาศ ก่อนจะผ่านประตูชั้นนี้ไปได้ ฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวจะต้องให้ซองเงินแก่ผู้กั้นซึ่งเรียกกันว่า "ของแถมพกอย่างตรี"
ความหมายของด่านแรกคือเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยในการเปิดประตูเพื่อให้ว่าที่เจ้าบ่าวไปรับว่าที่เจ้าสาว

ประตูเงิน : ผู้กั้นประตูจะถือชายผ้าแพรคนละข้าง หรือเป็นผ้าที่มีเนื้อดีกว่าผ้าใช้กันประตูชัย บริเวณนี้จะมีการต่อรองเช่นเดียวกับประตูชัย แต่ซองเงินที่ให้จะต้องมีค่าสูงกว่า โดยจะเรียกซองเงินที่ให้แก่ผู้กั้นว่า "ของแถมพกอย่างโท" สำหรับความหมายของประตูเงินคือให้มีชีวิตคู่ที่สุขสบาย ร่ำรวยด้วยเงินตรา

ประตูทอง : เป็นประตูสุดท้าย ผู้กั้นจะถือชายผ้าแพรอย่างดี หรือผู้กั้นบางคนอาจใช้สร้อยทองสำหรับกั้นประตู และเช่นเดียวกันกับสองประตูที่ผ่านมา ก็จะมีการหยอกล้อ ต่อรองเพื่อขอให้ว่าที่เจ้าบ่าวผ่านประตูไปรับว่าที่เจ้าสาว แต่ความยากในประตูนี้จะมีมากกว่าสองประตูที่ผ่านมา และก็แน่นอนว่าซองเงินจะต้องมีมูลค่ามากกว่าสองประตูที่ผ่านมา โดยเรียกซองเงินที่ให้แก่ผู้กั้นว่า "ของแถมพกอย่างเอก"

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปจากประเพณีดั้งเดิมทั้งสิ่งที่นำมากั้นประตู จำนวนประตู

คุณกำลังดู: เปิดความหมายกั้น "ประตูเงินประตูทอง" ในงานแต่งงานคืออะไร ควรมีกี่ประตูกันแน่

หมวดหมู่: ผู้หญิง

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด