ปวดหัวแบบนี้ เป็น “ไมเกรน” หรือแค่ “เครียด”?

บางทีอาการปวดหัวของเราก็อาจจะน่าเป็นห่วง หรือแค่พักผ่อนก็หาย

ปวดหัวแบบนี้ เป็น “ไมเกรน” หรือแค่ “เครียด”?

อาการปวดหัว หรือปวดศีรษะ เป็นอาการที่เราเป็นกันได้บ่อยๆ อาจไม่ได้รู้สึกว่าเป็นอันตรายอะไร เพราะบางครั้งก็หายได้เอง หรือบางครั้งกินยาแก้ปวดนิดหน่อยก็หาย แต่หากบางครั้งกินยาแล้วยังไม่หาย และไม่แน่ใจว่าอาการปวดหัวของเราเองเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน เป็นสัญญาณอันตรายของโรคไมเกรนหรือเปล่า Sanook! Health มีวิธีเช็กง่ายๆ มาฝากกัน


ปวดหัวเพราะเครียด

  • ปวดทั่วทั้งศีรษะ

  • ปวดบีบๆ เหมือนถูกบีบศีรษะเบาๆ

  • ไม่มีอาการอื่นๆ เล่น คลื่นไส้

  • ปวด แต่พอนอนหลับได้

  • กินพาราเซตามอลแล้วหายปวด


ปวดหัวเพราะไมเกรน

  • ปวดหัวข้างเดียว โดยอาจปวดข้างเดียวบริเวณขมับ หรือท้ายทอย

  • รู้สึกปวดมาก แบบที่ให้คะแนนความปวดกับตัวเองในระดับปานกลาง ไปจนถึงปวดมากจนทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ไม่ค่อยได้ เช่น เริ่มเรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่ได้ แม้กระทั่งอ่านหนังสือ หรือดูหนังก็ไม่ค่อยไหว

  • ปวดหัว พร้อมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนประกอบด้วย
  • กิจกรรมบางอย่าง ยิ่งทำยิ่งปวด เช่น การขยับศีรษะ หรือการเดิน

  • ปวดหัวจนนอนไม่หลับ

ปัจจัยที่ทำให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบมีมากมายแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางก็มาจากความเครียดสะสม หรืออาจมาจากการอดนอน นอนมากเกินไป อากาศร้อน เหนื่อยมาก อดอาหาร หรือมาจากอาหารบางชนิด เช่น ไส้กรอกที่มีดินประสิว หรือไนเตรทที่กระตุ้นอาการของโรคไมเกรนได้ หรืออาหารจีนที่มีผงชูรสมาก ดังนั้นเราจึงควรสังเกตอาการของตัวเองว่าจะปวดหัวไมเกรนเมื่อไร เพราะอะไร


วิธีลดอาการปวดหัว

  1. หากเป็นอาการปวดหัวเพราะเครียด ให้วางมือจากสิ่งที่ทำให้เครียด เช่น อ่านหนังสือสอบ ทำงานต่างๆ รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เราใช้สมองหนัก เช่น การอ่านหนังสือ หรือภาพยนตร์ และบทสนทนาพูดคุยที่เป็นเรื่อบจริงจัง เป็นต้น

  2. ผ่อนคลายสมองด้วยการหากิจกรรมสบายๆ ทำ เช่น ฟังเพลงจังหวะสบายๆ เบาๆ รับประทานอาหารอร่อยๆ อาบน้ำ สระผม ทำงานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น

  3. สามารถเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ เช่น ชาคาโมมายล์ เทียน น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ หรือกลิ่นอื่นๆ ที่ทำให้หลับสบายมากยิ่งขึ้น

  4. หากทำทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้น สามารถกินยาแก้ปวดได้
    >> ยาพาราเซตามอล เม็ดเดียว หรือ 2 เม็ดดี?

  5. หลีกเลี่ยงต้นเหตุของอาการที่ทำให้ปวดหัวไมเกรน เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีดินประสิว หรือไนเตรท หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสเยอะเกินไป หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวเกินไป หรือไม่ควรอดอาหารมากจนเกินไป เป็นต้น


อนึ่ง หากมีอาการปวดหัวมากกว่า 2-3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวบ่อยๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคอื่นๆ ได้

>> ปวดหัวแบบไหน ถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”

คุณกำลังดู: ปวดหัวแบบนี้ เป็น “ไมเกรน” หรือแค่ “เครียด”?

หมวดหมู่: รู้ทันโรค

แชร์ข่าว