รู้จัก “Brain Fog” ภาวะสมองล้า คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า ?

รู้จัก “Brain Fog” ภาวะสมองล้า คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า ?

ภาวะสมองล้า เป็นภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวเพราะสมองทำงานหนักนาน ๆ อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ความจำ และการทำงานของสมองลดลง วัยทำงานอาจเสี่ยงได้

 

Brain Fog ภาวะสมองล้า คืออะไร ?

Brain Fog หรือ ภาวะสมองล้า เป็นภาวะที่วัยทำงานหลายคนมีความเสี่ยง เพราะเกิดจากภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ทั้งเกิดจากการจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย สมองคิดแต่เรื่องงานโดยไม่ได้พักคิดเรื่องอื่น ๆ ทำให้สารสื่อประสาทในสมองซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ของระบบประสาทเสียสมดุล ประสิทธิภาพการทำงานของสมองจึงแย่ลง

ภาวะสมองล้า สาเหตุหลักมาจากความเครียด ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอันตรายหลายอย่างที่มักเกิดขึ้นในวัยทำงาน เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมถึงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น

 
สาเหตุของ Brain Fog ภาวะสมองล้า

  1. คลื่นแม่เหล็ก จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ฯลฯ ที่เราอาจเผลอใช้งานมากเกินไป

  2. ความเครียดสะสมจากการทำงาน ทำให้เลือดไหลเวียนในสมองน้อยลง เกิดอาการมึนงง ความจำแย่ลง

  3. พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา

  4. ขาดสารอาหารบางชนิด จากการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เช่น ขาดกรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ

  5. ได้รับสารพิษต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น มลภาวะ สารเคมี โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในอากาศ อาหาร และน้ำ เป็นต้น

 
สัญญาณอันตราย Brain Fog ภาวะสมองล้า

  1. นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท แม้ว่าจะเหนื่อย

  2. ปวดศีรษะบ่อย ๆ

  3. สายต่ออ่อนเพลีย พร่ามัว

  4. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อารมณ์ขึ้นลงง่าย

  5. หลงลืมง่าย

  6. สมาธิสั้น

  7. เริ่มคิดไอเดียใหม่ ๆ ไม่ค่อยออก สมองไม่ค่อยแล่น

  8. ทำงานงานพลาดในจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ค่อยพลาดบ่อย ๆ

  9. นอนมากเท่าไรก็ไม่รู้สึกสดชื่น ง่วงแม้จะนอนเยอะ

  10. ลางานบ่อยขึ้น

 
วิธีลดความเสี่ยงภาวะสมองล้า

วัยทำงานคงจะหลีกเลี่ยงการทำงานหนักไปไม่ได้ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงภาวะสมองล้าได้ ดังนี้

  1. จัดเวลาในชีวิตให้ดี กำหนดเวลาทำงาน ทำกิจกรรมส่วนตัว เวลาพักผ่อน กินอาหาร พบปะเพื่อนและครอบครัว ไม่ให้ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตขาดหายไป

  2. พยายามมองโลกในแง่บวก มองหาข้อดีของทุกเรื่องที่เกิดขึ้น

  3. จัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ไว หากรู้สึกเครียด เริ่มคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ในแง่ร้าย หงุดหงิด โมโห ควรเอาตัวออกห่างจากสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์เหล่านั้นสักพัก หยุดคิดถึงเรื่องนั้นจนกว่าจะใจเย็นลง แล้วค่อยกลับไปแก้ปัญหานั้นใหม่

  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน ถ้ามีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ ควรพบแพทย์

  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

  6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสิ่งเสพติดทุกชนิด

  7. หาเวลาทำกิจกรรมที่อยากทำ เพื่อปรับอารมณ์ และสร้างแรงบันดาลใจในการทำสิ่งใหม่ ๆ เรื่อย ๆ

  8. รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ เน้นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ไก่ (ไม่กินหนัง) ปลา ผัก และผลไม้ต่าง ๆ และลดการรับประทานแป้งขัดสี และน้ำตาลให้น้อยลง

คุณกำลังดู: รู้จัก “Brain Fog” ภาวะสมองล้า คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า ?

หมวดหมู่: สุขภาพใจ-สมอง

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด