"สะอึก" ไม่หยุด อาจเป็นสัญญาณอันตราย "หลอดเลือดสมอง"
อาการสะอึก อาจมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมองได้
คุณคิดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง อาการสะอึก และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือไม่ อาจฟังดูแปลก เนื่องจากคุณมีอาการสะอึกหลายครั้งต่อวันในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กัน ให้ติดตามอ่านบทความนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม
อาการสะอึกที่ไม่หาย
อาการสะอึกเป็นอาการเคลื่อนไหวของกระบังลม ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และเกิดขึ้นกะทันหัน กระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณส่วนล่างของปอด กระบังลมทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง เพื่อให้มีการหายใจได้ เมื่อปลายปิดของเส้นเสียงเคลื่อนตามการเคลื่อนไหวของกระบังลม ทำให้เกิดเสียง 'สะอึก' ขึ้นมา อาการสะอึกสามารถหายได้เองหลังจากเวลาผ่านไปเล็กน้อยโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ และอาการสะอึกเป็นภาวะปกติ คนส่วนใหญ่ต่างก็มีอาการสะอึกทั้งนั้น แต่อาการสะอึกที่คงอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง เป็นอาการผิดปกติ และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา
อาการสะอึกเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมอง
อย่างไรก็ดี การสะอึกเป็นเวลานานที่ไม่หายไปได้เอง หลังจากเวลาผ่านไปหลายวัน หรือหลายสัปดาห์อาจ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวบางชนิด ซึ่งรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองด้วย ในภาวะเช่นนี้ ให้สังเกตอาการอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดสมองด้วย เช่น
- ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่ดวงตาข้างหนึ่ง
หรือทั้งสองข้างอย่างกะทันหัน
- ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ตามปกติ มีอาการวิงเวียน
หรือเสียสมดุลของร่างกายอย่างกะทันหัน
- ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างกะทันหัน
- ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดอย่างกะทันหัน การพูดอาจไม่ชัด
ผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดได้เลยถึงแม้ว่ารู้สึกตัว
- ผู้ป่วยไม่สามารถยกแขนทั้งสองข้างได้อย่างกะทันหัน
เนื่องจากมีอาการอ่อนล้าและอาการชา
- ใบหน้าของผู้ป่วยอาจหดลงที่ข้างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่สามารถยิ้มได้ตามปกติ
เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาการสะอึกและโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรไปปรึกษาหมอ
สาเหตุอื่นๆ ของอาการสะอึก
อาการสะอึกโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้น และหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่เฉพาะ ทุกคนอาจมีอาการสะอึกหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี อาการสะอึกในระยะสั้นบางครั้งอาจมีสิ่งกระตุ้นเฉพาะ เช่น
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึก
- การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดอาการสะอึก
- อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในห้อง หรือภายในร่างกายของคุณ
ตัวอย่างเช่น คุณลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศทันที
หรือคุณดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน แล้วตามด้วยอาหารที่เย็น
- ดื่มของเหลวอย่างรวดเร็วเกินไป
- มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ เช่น ความเครียดหรือความกลัว
- มีการกลืนอากาศ ตัวอย่างเช่น เวลาคุณเคี้ยวหมากฝรั่ง
อาการสะอึกในระยะสั้นมักไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ขณะที่อาการสะอึกในระยะยาวหรืออาการสะอึกเรื้อรังที่มีอาการเกินกว่า 48 ชั่วโมงอาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะเกี่ยวกับสุขภาพบางประการ เช่น
- ภาวะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม หรือหอบหืด
- ภาวะทางจิต เช่น อาการช็อก อาการหวาดกลัว
- กลุ่มอาการเกี่ยวกับระบบเผาผลาญของร่างกาย เช่น เบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- ภาวะที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การบาดเจ็บที่สมอง หรือเนื้องอกที่สมอง
หรือยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาชา ยาเคมีบำบัด ยาโอปิออยด์ (opioids) ยาเบนโซไดอาเซปีน (benzodiazepines) ยาเมทิลโดพา (methyldopa) อาการสะอึกเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี อาการสะอึกที่มีอาการเป็นเวลาหลายวัน หรือแม้กระทั่งหลายปี อาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมอง หากคุณสังเกตได้ถึงอาการดังกล่าว ให้แจ้งแพทย์หรือผู้ดูแลสุขภาพ
คุณกำลังดู: "สะอึก" ไม่หยุด อาจเป็นสัญญาณอันตราย "หลอดเลือดสมอง"
หมวดหมู่: รู้ทันโรค