ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน มีอาการแบบไหน ปฐมพยาบาลอย่างไร
ไซยาไนด์ คือ สารเคมีที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก
ลักษณะไซยาไนด์
ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ถ้าเป็นของเหลว จะเป็นของเหลวใส ระเหยเป็นแก๊สได้ง่าย ที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นเฉพาะตัวเรียกว่ากลิ่นอัลมอนด์ขม (Bitter almond) เมื่อกลายเป็นแก๊ส จะเป็น แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นอัลมอนด์ขมเช่นกัน สำหรับโซเดียมไซยาไนด์และโพแทสเซียมไซยาไนด์ เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาว มีกลิ่นอัลมอนด์ขมอ่อน ๆ
อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่างจะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้ว จะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที
อาการเมื่อได้รับไซยาไนด์
ไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึน ๆ วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
- รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก
รุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
- หายใจลำบาก
- ชักหมดสติ
- เสียชีวิต
การปฐมพยาบาล เมื่อได้รับสารไซยาไนด์
- กรณีสารเคมีรั่วไหล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าออก ล้างตัวด้วยน้ำเปล่าให้มากที่สุด ถ้าเข้าตาให้ทำการล้างตาด้วย สังเกตสัญญาณชีพ ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าไม่หายใจ ให้ออกซิเจนเสริม
- การรักษาระยะเฉียบพลัน ทำการล้างตัว (decontamination) ทั้งที่จุดเกิดเหตุและที่โรงพยาบาล ช่วยการหายใจ ให้ออกซิเจน
- การสูดดมสาร amyl nitrile ยังไม่ชัดเจนว่าสามารถช่วยต้านพิษของ ไซยาไนด์ได้หรือไม่ เนื่องจาก การสูดดมเมื่อ amyl nitrile เข้าสู่ร่างกายจะจับกับ Hemoglobin (เช่นเดียวกับ Sodium nitrile) กลายเป็น methemoglobin แล้วจะแย่งจับกับ Cyanide ในกระแสเลือดเป็น Cyanomethemoglobin และเมื่อได้รับ Sodium thiosulfate จึงจะช่วยขับ Cyanide ออกจากร่างกายได้ แต่ตัว Methemoglobin เองก็เป็นพิษต่อร่างกายเช่นกัน
ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย
คุณกำลังดู: ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน มีอาการแบบไหน ปฐมพยาบาลอย่างไร
หมวดหมู่: วัยรุ่น