เที่ยวตลาดนัดเท่ๆ ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต’ ฝีมือของคนตามหางานในฝัน

ตลาดนัดสไตล์วินเทจ ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต’ ไม่ใช่แค่แหล่งรวมของเก่าให้หาซื้อ แต่คือแหล่งพบปะผู้คน ทั้งคนไทย และต่างชาติ ที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน

เที่ยวตลาดนัดเท่ๆ  ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต’ ฝีมือของคนตามหางานในฝัน

ตลาดนัดสไตล์วินเทจ ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต’ (Made By Legacy Flea Market) ไม่ใช่แค่แหล่งรวมของเก่าให้หาซื้อ แต่คือแหล่งพบปะผู้คน ทั้งคนไทย และต่างชาติ ที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน ได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยน และสัมผัสบรรยากาศที่ออกแบบมาให้เหมือนรู้สึกเดินอยู่ที่ตลาดนัดที่ต่างประเทศ

นี่คือไอเดียเริ่มต้นของ เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต หรือตลาดนัดสไตล์วินเทจ ที่ถูกใจสายฮิปสเตอร์ ที่จัดมาตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จัดปีละครั้งแต่ บางปีจัด 2 ครั้งต่อปี จนครั้งล่าสุดมาถึง ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’ ที่เลือกสถานที่ที่น่าสนใจอย่าง ที่ โกดังแสงทองค้าข้าว 1968 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนราษฎร์บูรณะ

อีกหนึ่งร้านในงาน ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’
อีกหนึ่งร้านในงาน ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’
เตรียมพบกันในงาน ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’
เตรียมพบกันในงาน ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’


ที่มาของงาน เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต หรือตลาดนัดสไตล์วินเทจ มาจากการตามหางานในฝันของ ‘วุฒิ สมบูรณ์กุลวุฒิ’ ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าชมรม ‘เมด บาย เลกาซี่’ ที่ตั้งใจ และวางแผนจัดการร่วมกับเพื่อน และพาร์ตเนอร์กลุ่มหนึ่ง เปิดตลาดนัดสไตล์วินเทจนี้ด้วยความหลงใหลในบรรยากาศตลาดนัดวินเทจแบบที่เคยได้เจอมาจากการไปเรียนที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้ไปเดินที่ตลาดนัด ที่มีความหลากหลายของผู้คน แต่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน

หลังจากเรียนจบกลับมาในเมืองไทย ในวัย 28 ปี ก็เริ่มจัดงานตลาดนัดสไตล์วินเทจนี้ในไทยทันที จนทำมาได้จนปัจจุบันวัยเกือบ 40 ปีแล้ว ยืนยันได้ว่า ตามหาอาชีพในฝันเจอแล้ว หลังจากที่เคยทำงานเป็นมนุษย์ออฟฟิศ และทำงานกับธุรกิจครอบครัวมาแล้ว

เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต จุดนัดฝันของความแตกต่าง

แล้ว เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต นี้ เป็นพื้นที่ที่ทำให้ใครบ้างได้มาเจอกัน คำตอบคือ แน่นอนเป็นกลุ่มคนรักของสไตล์วินเทจ กลุ่มงานชื่นชอบงานศิลปะ อาร์ตแอนด์คราฟท์ กลุ่มสินค้าดีไซน์ กลุ่มร้านค้าคนญี่ปุ่น กลุ่มคนรักแผ่นเสียง รวมไปถึงกลุ่มในสายงานสถาปนิก เอเจนซี่โฆษณา ในสายงานครีเอทีฟ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน รวมไปถึงเจ้าของห้างสรรพสินค้าก็มาที่นี่ เพราะไม่ใช่แหล่งการมาซื้อสินค้าวินเทจ แต่ได้พบปะกับร้านที่มีสินค้าน่าสนใจ นำไปสู่การพูดคุยชักชวนกันเปิดร้านในห้างกันได้

บรรยากาศงานครั้งก่อนๆ
บรรยากาศงานครั้งก่อนๆ
บรรยากาศงานที่ผ่านมา กับการแสดงดนตรีจากหลากหลายวัฒนธรรม
บรรยากาศงานที่ผ่านมา กับการแสดงดนตรีจากหลากหลายวัฒนธรรม


ส่วนสินค้าที่มาให้เลือกหาซื้อ มีตั้งแต่เสื้อผ้าเครื่องประดับสไตล์วินเทจ ของทำมือและงานดีไซน์จากคนรุ่นใหม่ แบรนด์เนมวินเทจ เช่น กระเป๋า รองเท้า และนาฬิกา รวมไปถึงหนังสือเก่า ของแต่งบ้านหายาก เฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศ

จากการจัดงานที่ผ่านมา วุฒิ เล่าว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ที่มางาน เป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย และมีตั้งแต่กลุ่มผู้ใหญ่ และคนวัย 30-40 ปี จากปีแรกๆ มีคนมาเดินในงานในหลักพันคน แต่บรรยากาศของงานที่มีเสน่ห์ ทำให้ยอดคนที่มาในงานทะลุหลักหมื่นคน และปีที่แล้วมียอดคนมาถึง 14,000 คน ส่วนปีนี้ก็ตั้งเป้าไว้ 10,000-20,000 คน ในช่วงตลอด 3 วันจัดงาน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2566 เวลา 15:00-24:00 น.

ที่ผ่านมากลุ่มที่ชอบมาซื้อของ จะเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อได้ของถูกใจแล้วก็กลับ ส่วนกลุ่มวัย 30-40 ปี ที่ชอบพบปะพูดคุยกันก็อยู่กันนาน 5-6 ชั่วโมง ทั้งซื้อของกิน เครื่องดื่ม ประมาณ 2 มื้อ ที่มีเมนูหลากหลายนานาชาติ โดยเฉลี่ยใช้จ่ายกันประมาณ 500-600 บาท และแนวโน้มมีคนรุ่นใหม่มาร่วมงานมากขึ้น จากช่วงแรกๆ เป็นคนรุ่นผู้ใหญ่มากกว่า

งานนี้เก็บค่าบัตรเข้างานคนละ 150 บาท เพราะอย่างที่บอกไว้ว่า ไม่ใช่แค่การเข้ามาซื้อของสไตล์วินเทจที่ชอบ แต่คือการได้ดื่มด่ำบรรยากาศตลาดนัดแบบต่างประเทศ ได้พบปะคนหลากหลาย ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน เป็นการสัมผัสประสบการณ์ จากเสน่ห์ของ เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต

การเดินทางไปโกดังแสงทองค้าข้าว 1968

ในแต่ละปี งาน เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต เลือกจัดสถานที่แตกต่างกันไป บางปีจัดในตึกที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ บางปีจัดในสถานที่เก่าแก่อย่างสำนักงานของหัวลำโพง และปีนี้ ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต ครั้งที่ 14’ เลือกจัดบนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โกดังแสงทองค้าข้าว 1968 บนถนนราษฎร์บูรณะ

พื้นที่ของโกดังแสงทองค้าข้าว 1968 บนถนนราษฎร์บูรณะ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
พื้นที่ของโกดังแสงทองค้าข้าว 1968 บนถนนราษฎร์บูรณะ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

การเดินทางไป โกดังแสงทองค้าข้าว 1968 หากขับรถยนต์ส่วนตัวไป ฝั่งธนบุรี ถนนราษฎร์บูรณะ จอดได้ที่โกดังบริเวณงาน 250 คัน และห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ อาคารจอดรถ และบริเวณลานจอดด้านหลัง

หากอยู่ฝั่งกรุงเทพมหานคร จอดที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ ถนนพระราม 3 มีเรือรับส่งฟรีทุก 20 นาที ช่วง 15:00-22:00 น. หรือหากนั่งรถไฟฟ้า ลงที่ สถานีสะพานตากสิน มีเรือบริหารทุก 15-20 นาที

คุณกำลังดู: เที่ยวตลาดนัดเท่ๆ ‘เมด บาย เลกาซี่ ฟลี มาร์เก็ต’ ฝีมือของคนตามหางานในฝัน

หมวดหมู่: วัฒนธรรม

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด