‘อ.ดนตรีสร้างสรรค์’ ไขข้องใจ ทำไม ‘ทรงอย่างแบด’ ดังไม่ไหว ฟันน้ำนมฮิตจัด

'อาจารย์ดนตรีสร้างสรรค์' ไขข้องใจ ทำไมเพลง 'ทรงอย่างแบด' ดังไม่ไหว ฟันน้ำนมฮิตจัด เมื่อวันที่ 21 มกราคม สืบเนื่องจากปรากฎการณ์เพลง ทรงอย่างแบด (Bad Boy) แนวร็อกพังก์ ผสม อีโม แทรป ของ 2 ศิลปินวง วงเป...

‘อ.ดนตรีสร้างสรรค์’ ไขข้องใจ ทำไม ‘ทรงอย่างแบด’ ดังไม่ไหว ฟันน้ำนมฮิตจัด

‘อาจารย์ดนตรีสร้างสรรค์’ ไขข้องใจ ทำไมเพลง ‘ทรงอย่างแบด’ ดังไม่ไหว ฟันน้ำนมฮิตจัด

เมื่อวันที่ 21 มกราคม สืบเนื่องจากปรากฎการณ์เพลง ทรงอย่างแบด (Bad Boy) แนวร็อกพังก์ ผสม อีโม แทรป ของ 2 ศิลปินวง เปเปอร์ เพลนส์ (Paper planes) จากค่าย Genierecords โด่งดังในกลุ่มเด็กอนุบาล จนกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ตั้งแต่ปลายปี 2565 ที่ผ่านมาจนปัจจุบันนี้

อาจารย์กุลธีร์ บรรจุแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ให้สัมภาษณ์ ‘มติชน’ ถึงปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยวิเคราะห์ในมุมวิชาการว่า ที่เด็กๆ ชอบมีเหตุผลทางดนตรีอยู่ 3 ประการ

ประการแรก คือ 1.ดนตรีทำงานเหมือนฉากละคร ที่จะมีฉากหน้าสุด ฉากตรงกลาง และฉากด้านหลัง มี 3 ระยะ ระยะที่อยู่หน้าสุดของคนฟังเลยคือทำนองของมัน โดยเฉพาะในท่อนฮุกที่ร้องคำว่า ‘ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย เธอไม่อินกับผู้ชายแบดบอย’ จะเห็นได้ว่าเป็นประโยคที่ประกอบไปด้วย 3 วลี ‘ทรงอย่างแบด’ ก็นับเป็น 3 พยางค์ ‘แซดอย่างบ่อย’ ก็มี 3 พยางค์ และต่อด้วยท่อนที่มี 8 พยางค์ต่อเนื่องกัน

กุลธีร์ บรรจุแก้ว

“แน่นอนว่ากลไกแบบนี้เป็นกลไกที่เพลงป๊อปปกติทำขึ้นอยู่แล้ว แต่ทำให้ติดหูได้ง่ายเพราะซ้ำรูปแบบโครงสร้างของการมีจังหวะและเนื้อเพลงแบบนี้อีกครั้งหนึ่ง และวิธีการที่ฉลาดมากของเพลงนี้คือมีการ ‘ว้าก’ ที่ใช้เทคนิค ‘Vocal Fry’ ซึ่งเป็นเหมือนการปลดปล่อยของท่อนเพลงทำให้ผู้ฟังโดยเฉพาะเด็ก สามารถตะโกน หรือร้องในสิ่งที่เขาสามารถร้องตามได้ โดยเฉพาะท่อนนี้อยู่ในจังหวะหนักของเพลง ทำให้คนที่ติดตามรู้สึกว่าท่อนนี้เป็นจุดผ่อนคลายของเพลง และกลับมาร้องซ้ำอีกครั้งในท่อน ‘ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย ปล่อยเธอไปกับไอ้หนุ่มกู๊ดบอย’ ที่คล้ายกับช่วงแรกของท่อนฮุก ซึ่งก็เป็นสูตรที่เข้าใจได้ในดนตรีป๊อป คิดว่าส่วนนี้เป็นเงื่อนไขหลักที่ทำให้คนจำได้” อ.กุลธีร์ให้ความเห็น

อ.กุลธีร์กล่าวต่อว่า ประการที่สอง คือ ระยะที่ 3 ที่เปรียบเสมือนฉากด้านหลังของละครที่สนับสนุนเพลงนี้คือเครื่องดนตรี กีตาร์ เบส กลอง จะสังเกตได้ว่าเมื่อลงคำว่า ‘แบด’ เสียงดนตรีจะมีเสียงเอคโคกระตุกขึ้นมา ซึ่งมีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดความทรงจำอย่างรวดเร็วในการฟัง และท่อนที่มีการว้ากดนตรีก็จะปล่อยไหล ในสองระยะที่เล่ามาจะเป็นส่วนประกอบสำคัญตั้งแต่เรื่องของการเซตอัพพยางค์ของคำ และตัวเอคโคที่ผ่านตัวแบ๊กกราวด์ของกีตาร์ เบส กลอง

ประการที่สาม คือ เรื่องทำนอง ถ้าใครเคยร้องเพลง Do-re-mi (Doe A Deer) จากภาพยนตร์เรื่อง The Sound Of Music เราจะเห็นว่าท่อนฮุกของเพลงนี้จะใช้ระดับเสียงแค่ 5 เสียง คือ Pentatonic Scale โดยโน้ตที่เกิดขึ้นคือขึ้นในท่อนฮุกจะวนอยู่แค่ 3 โน้ต คือ D E F# F# D D ซึ่งจะทำให้เด็กจำง่าย หรือถ้าคิดในเชิงเปรียบเทียบก็จะคล้ายๆ กับการท่องสูตรคูณ

“แต่คิดว่าปัจจัยนี้ไม่น่าใช่ความตั้งใจของวง Paper Planes ผมว่าเพลงนี้เขาตั้งใจทำเป็นเพลงป๊อป สำหรับวัยรุ่นยุค Early Teen ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป แต่ความบังเอิญที่ดังในหมู่เด็กได้ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของมีเดีย คือการที่เด็กสมัยนี้จับมือถือได้เร็วขึ้นและมีไวรัลผ่าน Tiktok หรือผ่านสิ่งต่างๆ ที่เขาได้เห็น เพลงนี้เลยเข้าไปสู่เยาวชนที่อายุต่ำกว่าตลาดที่เขาวางเอาไว้” อ.กุลธีร์เผย

ภาพจากค่าย Genierecords

คุณกำลังดู: ‘อ.ดนตรีสร้างสรรค์’ ไขข้องใจ ทำไม ‘ทรงอย่างแบด’ ดังไม่ไหว ฟันน้ำนมฮิตจัด

หมวดหมู่: ความบันเทิง

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด