4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเวลาที่ดีที่สุดในการกินผลไม้
หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินผลไม้ บ้างก็ว่าควรกินตอนเช้า บ้างก็ว่าควรกินก่อนอาหาร บ้างก็ว่าควรกินหลังอาหาร แต่ความเชื่อเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่? ความจริงก็คือยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่ามีช่วงเวลาที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุดในการกินผลไม้ การกินผลไม้เป็นวิธีที่ดีและอร่อยในการเพิ่มสารอาหารให้กับร่างกาย โดยไม่คำนึงถึงเวลาที่คุณกิน
4 ความเชื่อผิดๆ
เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินผลไม้
1.ต้องกินผลไม้ตอนท้องว่างเท่านั้น
ความเชื่อนี้มักอ้างว่าการกินผลไม้ร่วมกับมื้ออาหารจะทำให้ระบบย่อยทำงานช้าลง อาหารตกค้างในกระเพาะ และเกิดการหมักหรือเน่าเสีย นอกจากนี้ยังอ้างว่าการกินผลไม้กับอาหารจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด และอาการไม่สบายท้องอื่นๆ อีกมากมาย
ความจริง:
- แม้ว่ากากใยในผลไม้จะช่วยชะลอการปล่อยอาหารออกจากกระเพาะอาหาร แต่ข้ออ้างอื่นๆ ล้วนเป็นความเข้าใจผิด
- ผลไม้ช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารช้าลงจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าอาหารจะตกค้างอยู่นานจนเน่าเสีย
- งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมที่รับประทานเจลเพคติน ซึ่งเป็นกากใยชนิดหนึ่งในผลไม้ มีอัตราการย่อยอาหารช้าลงประมาณ 82 นาที เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้กินเพคตินซึ่งอยู่ที่ประมาณ 70 นาที
- ถึงแม้ความเร็วในการย่อยจะต่างกันเล็กน้อย แต่ไม่ช้าจนทำให้เกิดการเน่าเสียในกระเพาะอาหาร
- การชะลอการย่อยอาหารจากกระเพาะอาหารโดยทั่วไปถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ได้นานขึ้น
- แม้ว่าผลไม้จะทำให้กากอาหารอยู่ในกระเพาะนานกว่าปกติ แต่กระเพาะอาหารของเราถูกออกแบบมาเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการหมักและเน่าเสีย
- เมื่ออาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร มันจะถูกผสมกับกรดในกระเพาะ ซึ่งมีค่า pH ต่ำมาก (ประมาณ 1-2) สภาพแวดล้อมที่เป็นกรดรุนแรงเช่นนี้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่
- กระบวนการย่อยอาหารนี้มีส่วนช่วยในการกำจัดแบคทีเรียในอาหารและป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
2.กินผลไม้ก่อนหรือหลังอาหารลดคุณค่าทางโภชนาการ
ความเชื่อนี้มักต่อเนื่องมาจากความเชื่อแรกที่ว่าต้องกินผลไม้ตอนท้องว่างเท่านั้น ความเชื่อนี้อ้างว่าเราต้องกินผลไม้ตอนท้องว่างเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยอ้างว่าการกินผลไม้ก่อนหรือหลังอาหารจะทำให้สูญเสียสารอาหารไป
ความจริง: ร่างกายมนุษย์มีการพัฒนาตามธรรมชาติให้สามารถดึงสารอาหารจากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เมื่อเรากินอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่เป็นเหมือนที่เก็บ กักตุนอาหาร ปล่อยออกมาทีละน้อยเพื่อใหลำไส้เล็กย่อยได้ง่าย
- ลำไส้เล็ก ถูกออกแบบมาให้ดูดซึมสารอาหารได้มากที่สุด มีความยาวประมาณ 6 เมตร และมีพื้นที่สำหรับการดูดซึมมากถึง 30 ตารางเมตร
- พื้นที่ดูดซึมขนาดใหญ่นี้ ทำให้การดูดซึมสารอาหารจากผลไม้ (และอาหารอื่นๆ) เป็นเรื่องง่ายสำหรับระบบย่อยอาหาร ไม่ว่าคุณจะกินผลไม้ตอนท้องว่างหรือร่วมกับมื้ออาหาร
3.เบาหวานกับการกินผลไม้ กินแยกมื้อดีไหม
ความเชื่อที่ว่าผู้ป่วยเบาหวานควรจะกินผลไม้ก่อนหรือหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง มักอ้างว่าจะช่วยให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
ความจริง:
- ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าการกินผลไม้แยกมื้อจะช่วยให้ย่อยอาหารดีขึ้น
- ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคือ น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตในผลไม้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
ทางเลือกที่ดีกว่า:
- ลองกินผลไม้ร่วมกับมื้ออาหาร หรือเป็นของว่างแทนการกินแยกมื้อ
- การกินผลไม้ร่วมกับอาหารที่มีโปรตีน ไฟเบอร์ หรือไขมันสูง จะช่วยชะลอการปล่อยอาหารจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก
- ส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานเพราะน้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทีละน้อย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้น
- งานวิจัยพบว่าใยอาหารละลายน้ำ 7.5 กรัม (พบได้ในผลไม้) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารได้ถึง 25%
- ชนิดของผลไม้ก็สำคัญ ผู้ป่วยเบาหวานควรกินผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ต่ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ช้ากว่า เช่น เบอร์รี่ ส้ม แก้วมังกร (หลีกเลี่ยงแตงโม สับปะรด ผลไม้แห้ง)
กรณีผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
- ปัญหาที่พบบ่อยคือ เบื่ออาหาร (Gastroparesis) ภาวะที่กระเพาะอาหารทำงานช้าหรือไม่ทำงานเลย
- แม้ว่าการปรับเปลี่ยนอาหารบางอย่างอาจช่วยได้ แต่การกินผลไม้ตอนท้องว่าง ไม่ใช่วิธีการรักษา
4.เช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินผลไม้
ความเชื่อนี้ขาดทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานรองรับ แหล่งข้อมูลบางแหล่งออนไลน์อ้างว่า การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงอย่างผลไม้จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและ “ปลุก” ระบบย่อยอาหารให้ตื่น
ความจริง:
- อาหารทุกชนิดที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดชั่วคราว ไม่ว่าจะกินตอนไหนก็ตาม เนื่องจากร่างกายกำลังดูดซึมกลูโคส
- นอกเหนือจากการให้พลังงานและสารอาหารอื่นๆ แก่ร่างกายแล้ว การกระโดดของน้ำตาลในเลือดนี้ ไม่มีประโยชน์พิเศษใดๆ
- ระบบย่อยอาหารของคุณไม่จำเป็นต้อง “ปลุก” เพราะระบบย่อยอาหารพร้อมทำงานทันทีที่อาหารสัมผัสลิ้นของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด
- แม้ว่าการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงอาจทำให้ร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานชั่วคราว แต่ไม่ได้ส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญโดยรวม
คุณกำลังดู: 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเวลาที่ดีที่สุดในการกินผลไม้
หมวดหมู่: ผู้หญิง