ปวดจากการออกกำลังกายควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาบรรเทาอาการปวดไหม?

ปวดจากการออกกำลังกายควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาบรรเทาอาการปวดไหม?

     เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการ “ปวด” จากการออกกำลังกาย ซึ่งอาจคิดว่าอาการปวดนั้นเป็น “สัญญาณที่ดี” เหมือนสำนวนติดปากที่ว่า “No Pain, No Gain” แต่ในความเป็นจริงอาการปวดนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีอาการ “บาดเจ็บ” บางอย่างกับกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือส่วนอื่นของร่างกายได้ ดังนั้นควรรู้ทันเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้มาทำลายความตั้งใจในการออกกำลังกายของเราได้

ลักษณะของการปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย
สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

1. อาการปวดระบม หรือปวดตึง (DOMS : Delayed Onset Muscle Soreness)
     อาการปวดกล้ามเนื้อในลักษณะนี้จะมีสาเหตุมาจากเส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle fiber) มีการฉีกขาด อันเนื่องมาจากมีการออกแรงหรือใช้งานมากกว่าที่เคยทำเป็นประจำโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับคนที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายใหม่ๆ หรืออาจจะเกิดขึ้นกับคนที่มีการออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการออกกำลังกาย เช่น เพิ่มระยะเวลาหรือความหนักของการออกกำลังกายให้สูงขึ้นกว่าที่เคยปฏิบัติอยู่ โดยปกติอาการปวดระบม หรือปวดตึงสามารถหายได้เอง

2. อาการปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บโดยตรง
     มีอาการปวดแบบแปล๊บๆ จี๊ดๆ ที่บริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ อาจเกิดจากการกระแทกที่กล้ามเนื้อโดยตรง ทำให้เกิดการช้ำหรือฉีกขาด โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย อาการปวดแบบนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวในส่วนที่บาดเจ็บ และอาการปวดอาจไม่หายไป ถึงแม้จะมีการพักร่างกายแล้วก็ตาม

เราจำเป็นต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาบรรเทาปวดไหม
     โดยปกติแล้วอาการปวดจากการออกกำลังกายทั่วไปสามารถหายไปได้เอง ดังนั้นการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อจึงแทบไม่จำเป็นต้องใช้เลย แต่หากอาการปวดนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรเลือกใช้ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อที่ใช้ภายนอก ใช้ตรงบริเวณจุดที่ปวด แต่หากมีอาการปวดรุนแรงอาจกินยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

เทคนิคป้องกันและบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
เราสามารถลดความเสี่ยงและความรุนแรงของอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายได้ ด้วยวิธีดังนี้

1. อุปกรณ์
เราควรป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันข้อต่อหรือใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับกีฬาที่เลือกเล่น

2. การทำวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย
ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนระบบกล้ามเนื้อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มอุณหภูมิกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของระบบเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและข้อต่อ

3. คูลดาวน์หลังออกกำลังกาย
เป็นการเตรียมร่างกายให้กลับสู่สภาวะปกติ เพราะหลังจากออกกำลังกายระบบต่างๆ ในร่างกายจะยังคงมีค่าสูงอยู่ เช่น หัวใจเต้นเร็ว อุณหภูมิร่างกายสูง และการคูลดาวน์ยังช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อล้าหลังจากออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

4. พกผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อแบบเย็น
ควรพกยาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อที่มีตัวยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ตัวยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) โดยอาจเลือกผลิตภัณฑ์แบบเย็น เพราะผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อแบบเย็นมีคุณสมบัติทำให้เส้นเลือดหดตัวและลดอาการบวมหลังจากมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อเบื้องต้นภายใน 72 ชั่วโมง โดยไม่ควรนวดบริเวณที่ปวดเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้ยาบรรเทาภายนอกชนิดสเปรย์เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่มีอาการอักเสบโดยตรงและลดความเสี่ยงที่จะมีการอักเสบเพิ่ม

เรียบเรียงโดย
ดร.ชลชัย อานามนารถ
อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล


ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/HvDExa
https://goo.gl/sGMyqQ
www.facebook.com/unirenspray

 

 

[Advertorial]

คุณกำลังดู: ปวดจากการออกกำลังกายควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาบรรเทาอาการปวดไหม?

หมวดหมู่: รู้เรื่องยา

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด