รู้ทัน 4 ลักษณะตุ่มขึ้นที่น้องสาว และวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
สาวๆ หลายคนอาจจะเคยมีความกังวลกับปัญหาตุ่มที่เกิดขึ้นที่บริเวณจุดซ่อนเร้น ซึ่งเมื่อสัมผัสเจอตุ่มที่บริเวณดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือบางคนอาจคิดไปไกลถึงการเป็นโรคร้ายเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจึงอยากชวนสาวๆ มารู้ทัน 4 ลักษณะของตุ่มที่ขึ้นบริเวณน้องสาว พร้อมทั้งแชร์วิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้องกันค่ะ
1.ตุ่มนูนสีขาว
ตุ่มนูนสีขาว หรือเรียกว่า Fordyce spot
เป็นต่อมไขมันที่มีลักษณะเป็นเม็ด จะมีทั้งสีขาวและสีเหลืองอ่อน
โดยสามารถพบได้ทั้งตุ่มเดียวหรือหลายตุ่ม
ตุ่มลักษณะนี้จะไม่มีอาการเจ็บ แต่จะมีขนคุดร่วมกับต่อมไขมัน
เป็นตุ่มที่ไม่เป็นอันตราย และไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในส่วนของอาการจะมีแค่ปวดบวมแดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในส่วนของการรักษาสามารถใช้วิธีการประคบร้อน
ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเบื้องต้นได้ ควรหลีกเลี่ยงการบีบ
และสามารถใช้ยาแก้อักเสบทาบริเวณผิวหนังเพื่อลดอาการอักเสบได้เช่นกัน
2.ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มนูนแดง
ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มนูนแดง
เป็นตุ่มที่เกิดจากการระคายเคืองจากสารเคมีต่างๆ
โดยสารเคมีที่พบบ่อยมักจะเป็นสารเคมีจำพวกน้ำหอมที่มาจากผ้าอนามัย
รวมทั้งการใส่ผ้าอนามัยหลายชั่วโมงติดต่อกัน จะทำให้เกิดการอับชื้น
และทำให้เป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มนูนแดงได้เช่นเดียวกัน
ในส่วนของการรักษานั้น หากมีตุ่มขึ้นไม่มาก
ก็สามารถทำความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้นตามปกติ
พร้อมทั้งปรึกษาเภสัชเพื่อซื้อยาทาเองที่บ้าน
ที่สำคัญจะต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
3.ตุ่มเป็นผื่นนูนแดง
ตุ่มที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อรา
ซึ่งเกิดจากการอับชื้น
ทั้งนี้หากตุ่มที่ขึ้นเป็นตุ่มแดงและมีหัวคล้ายสิว
ตุ่มลักษณะนี้มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมอยู่ด้วย
สำหรับการรักษาตุ่มเป็นผื่นนูนแดง
แนะนำให้ล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสบู่ที่มีความอ่อนโยน
ห้ามปล่อยให้บริเวณจุดซ่อนเร้นเกิดความอับชื้น
หรือบางรายอาจจะต้องกินยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
นอกจากนี้ห้ามทำการบีบเด็ดขาด
เพราะอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายไปทั่ว
ส่งผลให้ตุ่มลามไปยังบริเวณอื่นๆ ได้
4.ตุ่มเป็นแผล
ตุ่มเป็นแผล รวมทั้งมีหนองด้วยนั้น
เป็นไปได้ว่าอาจเป็นสัญญาณอาการแรกเริ่มของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เช่น แผลริมอ่อน เริม และซิฟิลิส
โดยลักษณะของตุ่มและอาการของโรคนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไป
ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะมีทั้งตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ตุ่มกลายเป็นแผลหนอง
มีอาการแสบคัน หรืออาจมาพร้อมกับไข้ สำหรับการรักษาตุ่มเป็นแผล
แนะนำให้พบคุณหมอ เพื่อปรึกษาและเพื่อรับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง
พร้อมทั้งรับการรักษาได้ตรงกับอาการของโรคต่อไป
อย่าลืมนะคะว่า หากมีตุ่มเกิดขึ้นที่บริเวณจุดซ่อนเร้น สาวๆ ควรสังเกตดูลักษณะและอาการของตุ่มให้ดี หากตุ่มมีลักษณะที่ไม่สามารถรักษาได้เอง ควรรีบพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้อาการที่เกิดขึ้นยิ่งแย่ลงนั่นเอง
คุณกำลังดู: รู้ทัน 4 ลักษณะตุ่มขึ้นที่น้องสาว และวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
หมวดหมู่: ผู้หญิง