"ท้องผูก" กับอันตรายที่มากกว่ารู้สึกอึดอัดท้อง

อาการท้องผูก อึดอัดท้อง เพราะไม่ได้ถ่าย อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว แต่จริงๆ แล้วมีอันตรายแฝงอยู่มากกว่านั้น

"ท้องผูก" กับอันตรายที่มากกว่ารู้สึกอึดอัดท้อง

คุณเคยรู้สึกอึดอัดและไม่มั่นใจกับตัวเองในเช้าวันใหม่บ้างหรือไม่ จะลุก จะเดิน จะนั่ง จะทำอะไรก็หงุดหงิด อึดอัดไปเสียหมด บางทีความไม่สบายกายไม่สบายใจเหล่านั้น อาจมีสาเหตุมาจากอาการ "ท้องผูก" เจ้าปัญหาที่คุณกำลังมองข้ามอยู่ก็ได้


รู้จักกับอาการ "ท้องผูก"

อาการท้องผูก เป็นอาการทางสุขภาพโดยปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศและทุกวัย คุณสามารถที่จะจับสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเองได้ โดยเฉพาะถ้าหากคุณไม่มีการขับถ่ายเลย 3 วันขึ้นไป มีความรู้สึกว่าขับถ่ายได้ลำบาก และยากขึ้นในแต่ละครั้ง ต้องออกแรงในการเบ่ง ต้องใช้ตัวช่วยหลายวิธีในการ ขับถ่าย และเมื่ออุจจาระออกมา กลับพบว่า อุจจาระออกมาน้อย มีลักษณะแห้ง และแข็ง หลังจากขับถ่ายแล้วก็ยังคงรู้สึกอึดอัดอยู่เช่นเดิมเหมือนกับว่าเมื่อสักครู่นี้ไม่ได้ ขับถ่าย เสียอย่างนั้น หากเป็นเช่นนี้ล่ะก็ สามารถสันนิษฐานแต่เนิ่น ๆ ได้เลยว่า คุณอาจกำลังมีอาการท้องผูก


เพราะอะไรเราจึงเกิดอาการท้องผูก

หลายคนอาจเข้าใจเพียงว่า อาการท้องผูกนั้นเกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุอาการท้องผูกมีได้หลากหลาย และส่วนมากมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างการเดินทาง การท่องเที่ยว เกิดการเปลี่ยนแปลงการกิน การนอน ทำให้การทำงานของร่างกายผิดจากปกติ ลำไส้อาจทำงานลดลง อาการท้องผูกจากสาเหตุนี้ พบได้บ่อยมาก แต่หลายคนอาจไม่ตระหนักมากนัก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช ทานกากใยอาหารน้อยไป ดื่มน้ำไม่เพียงพอ พฤติกรรมชีวิตคนยุคใหม่ เคลื่อนไหวร่างกายน้อย นั่งนาน หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย ภาวะร่างกายอื่นๆ เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด โรคความผิดปกติที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โรคคลั่งผอม บรรเทาอาการ "ท้องผูก" อย่างไรได้บ้าง


การบรรเทาท้องผูกที่เหมาะสม

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  2. การหาตัวช่วยที่เหมาะสม เพื่อทำให้ลำไส้ ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติมากที่สุด

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ โดยสามารถทำได้ ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ต่างๆ ธัญพืช หรือรำข้าว

  2. ดื่มน้ำมากขึ้น

  3. เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน อย่าเอาแต่นั่งนิ่งอยู่กับที่

  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  5. จัดการกับความเครียดที่เผชิญอยู่

  6. เลือกยาระบายที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการขับถ่าย


ยาระบายช่วยในการขับถ่ายได้อย่างไร

หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว แต่อาการท้องผูกก็ยังไม่ดีขึ้นยกตัวอย่างเช่น 50% ของคนที่อยู่ระหว่างการเดินทาง เช่น ช่วงสงกรานต์หยุดไปท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกิน การนอน การทำงานของร่างกายถูกขัดขวาง ลำไส้ทำงานน้อยลง หลายคนจึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาระบายเพื่อช่วยในการขับถ่าย ซึ่งตัวอย่างยาระบายที่มีในท้องตลาดเช่น

กลุ่มที่เพิ่มกากใยอาหาร เช่น ไฟเบอร์ ธัญพืช กลุ่มที่เพิ่มน้ำในลำไส้ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว กลุ่มที่เพิ่มการทำงานบีบตัวของลำไส้ช่วยให้เกิดการขับถ่ายได้ เช่น บิซาโคดิล

สำหรับการรับประทานยาระบายที่มีส่วนผสมของตัวยาชื่อ บิซาโคดิล (Bisacodyl) เมื่อรับประทานในปริมาณและช่วงเวลาที่คุณหมอหรือเภสัชกรแนะนำ ยาจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหว บีบตัว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเกลือแร่ในลำไส้ ทำให้อุจจาระเริ่มอ่อนตัวลง และขับถ่ายออกมา โดยยาระบายจะมีการออกฤทธิ์ภายใน 6-12 ชั่วโมง หลังรับประทาน ดังนั้น คุณสามารถที่จะรับประทานยาแก้ท้องผูกก่อนเข้านอนเพื่อให้มีการ ขับถ่าย ในตอนเช้าได้ 

สังเกตว่าหลังจากระบบขับถ่ายเริ่มทำงานแล้ว การขับถ่ายรอบต่อๆไปจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ง่ายขึ้นด้วย 

ความเชื่อที่ว่า ถ้าใช้ยาระบายเมื่อไหร่ ก็จะต้องใช้ยาระบายไปตลอด ไม่สามารถที่จะขับถ่ายด้วยตัวเองได้อีกต่อไปอาจจะไม่ถูกต้องนัก คำกล่าวที่บอกต่อกันมาเช่นนี้ จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะมองข้ามยาระบายหรือแก้ท้องผูกไป ทั้งที่ความจริงแล้ว ทางผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ายาระบายได้รับการคิดค้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในการ ขับถ่าย 

และการใช้ยาระบายในปริมาณที่พอเหมาะ ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงาน และอาการท้องผูกดีขึ้น ดีกว่าปล่อยอาการท้องผูกทิ้งไว้ 

แต่... การใช้ยาปริมาณที่มากเกินไป หรือใช้ยาติดต่อกันนานเกินไปต่างหากจะทำให้เสี่ยงมีปัญหาต่อการทำงานของระบบขับถ่าย

ส่วนความเชื่อที่ว่า ถ้าใช้ยาระบายจะช่วยลดน้ำหนักตัวลดลงนั้น ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเป็นเพียงความเชื่อเก่า ๆ อีกเช่นกัน เพราะยาระบายไม่สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ เนื่องจากมีการทำงานที่ลำไส้ กว่าที่ยาระบายจะเข้าสู่ร่างกาย ลำไส้เล็กก็ได้ดูดซึมเอาสารอาหารและพลังงานต่าง ๆ ออกไปจนเกือบหมดแล้ว ทำให้ยาระบายไม่สามารถส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร หรือเกิดสภาวะใด ๆ ที่จะทำให้น้ำหนักลดลง


จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รีบแก้ไขอาการท้องผูก

ผลเสียต่อร่างกาย ได้แก่

  • มีกากอาหารต่าง ๆ ตกค้างในลำไส้มาก

  • การทำงานของระบบขับถ่ายน้อย

  • กินอาหารเข้าไปแต่ลำไส้ยังคงไม่บีบตัวขับออก

  • อุจจาระแข็งและอาจจะเกิดการขับถ่ายที่ลำบากหากทิ้งไว้นาน

ผลเสียต่อความรู้สึก

  • กังวลด้านสุขภาพ

  • ไม่ถูกสุขลักษณะ

  • คาดเดาไม่ได้ว่าจะถ่ายตอนไหน เกิดความกังวลตามมา

หลายคนมักเลือกที่จะมองข้ามปัญหาดังกล่าว ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือไม่หาตัวช่วยเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เพราะความเข้าใจที่ว่า “เดี๋ยวก็หายไปเอง” แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากปล่อยให้อาการท้องผูกเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังตามมาได้อีกมากมาย อย่าง โรคริดสีดวงทวาร ภาวะอุจจาระอุดตัน ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรืออาจร้ายเเรงจนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ปัญหาท้องผูกเล็กๆ ที่คุณมองข้ามมาโดยตลอด ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่อันตรายต่อร่างกาย และแก้ไขให้เป็นปกติได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม

เมื่อเริ่มท้องผูก รีบรักษาแต่เนิ่นๆ

การมีสุขภาพการขับถ่ายที่ดีแบบไร้ปัญหา คุณสามารถเริ่มได้ด้วยตัวคุณเอง เพียงปรับความคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต ก็สามารถพิชิตอาการท้องผูกไม่ให้มากวนใจคุณได้แล้ว

คุณกำลังดู: "ท้องผูก" กับอันตรายที่มากกว่ารู้สึกอึดอัดท้อง

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด