“ท้องอืด-อาหารไม่ย่อย” จาก 7 สาเหตุที่คุณอาจไม่เคยรู้

หากคุณมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยบ่อย ๆ อาจมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้

“ท้องอืด-อาหารไม่ย่อย” จาก 7 สาเหตุที่คุณอาจไม่เคยรู้

หลังกินอาหารทีไรก็รู้สึกท้องอึด อึดอัดท้อง แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ใครที่มีอาการเหล่านี้บ้าง ? สาเหตุมาจากอะไร ? แล้วเราจะลดอาการเหล่านี้ลงได้อย่างไร Sanook! Health มีคำตอบมาฝากกัน


ทำไมถึงท้องอืด-อาหารไม่ย่อย ?

อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหาร เกิดเป็นความอึดอัดไม่สบายท้อง โดยอาจเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง หรือบางคนอาจเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งจนต้องเข้ารับพิจารณาตรวจกับแพทย์

สาเหตุของอาการท้องอืด-อาหารไม่ย่อย

ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยจะเกิดขึ้นจากทั้งอาหารที่เรารับประทาน และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร รวมถึงการใช้ชีวิตของเราเอง เช่น

  1. พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น ชอบเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน กินเร็ว กินเยอะในเวลาอันรวดเร็ว กินอาหารมัน เผ็ด อาหารที่ย่อยยาก เช่น ของดิบต่าง ๆ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น

  2. พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น เครียด กังวล สูบบุหรี่ เป็นต้น

  3. น้ำหนักเกินนมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน จะมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยมากกว่าคนทั่วไป เพราะแรงดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้น

  4. คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะเปลี่ยน มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น เพิ่มแรงกดในช่องท้อง จนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืดได้

  5. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น  ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

  6. ปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี แพ้กลูเตน เป็นต้น

  7. สาเหตุอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์ หรือฮอร์โมน เป็นต้น


ท้องอืด อาหารไม่ย่อยมากแค่ไหน ถึงอันตราย

หากเป็นอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมกับอาการเหล่านี้บ่อย ๆ หรือมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์

  1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ แม้ว่าจะรับประทานอาหารไม่มาก

  2. อิ่มเร็วเมื่อกินอาหารได้ไม่นาน

  3. แสบร้อนกลางทรวงอกบริเวณระหว่างกระดูกหน้าอกกับสะดือ

  4. คลื่นไส้ เรอ อาเจียน


วิธีลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย

  1. ลดการรับประทานอาหารมากเกินไป

  2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

  3. ลดการรับประทานอาหารรสจัด และอาหารไขมันสูง

  4. ลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

  5. สอบถามแพทย์ประจำตัว หากยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ๆ อยู่ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้


เกร็ดความรู้ : การดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ได้ทำให้ท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยแต่อย่างใด รวมถึงการดื่มน้ำเย็นด้วย

คุณกำลังดู: “ท้องอืด-อาหารไม่ย่อย” จาก 7 สาเหตุที่คุณอาจไม่เคยรู้

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด