"จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม" เตรียมตัวอย่างไร คุณสมบัติแบบไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
วันที่ 23 มกราคม 2568 เป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การจดทะเบียนเป็นไปด้วยความราบรื่น คู่รักควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจกัน เพจBangkok Pride
จดทะเบียนสมรสต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
- ต้องไม่ถูกตัดสินหรือเป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลไร้ความสามารถ
- ไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่ใช่พ่อแม่และบุตรบุญธรรม
- ไม่มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่หากเคยจดทะเบียนสมรสและหย่าแล้ว ต้องมีระยะเวลาห่างจากสมรสเดิมไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้ว หรือมีใบรับรองว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือมีคำสั่งศาล หรือจดทะเบียนสมรสกับคู่เดิม
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมรสสำหรับคนไทย
- บัตรประชาชนตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ
- สัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี)
- หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปี) ต้องมีหนังสือยินยอมของผู้ปกครอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครองที่ลงนามแล้วด้วย
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมรส สำหรับชาวต่างชาติ
- ใบรับรองสถานะโสดที่ออกโดยสถานทูต พร้อมคำแปลภาษา
- หนังสือเดินทางตัวจริงที่ยังไม่หมดอาย
- สัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี)
- หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปี) ต้องมีหนังสือยินยอมของผู้ปกครอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครองที่ลงนามแล้วด้วย
**สำคัญ : เอกสารทุกฉบับต้องได้รับการแปลและได้รับการรับรองจากกรมการกุงสุล กระทรวงการต่างประเทศแล้วเท่านั้น.ลงทะเบียนคู่รักจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้ทางเว็บไซต์ https://www.bangkokpride.org/lovewins แล้วมาเจอกันวันที่ 23 มกราคมนี้ เริ่มจดทะเบียนตั้งแต่ 8:00-19:00 น. ณ Paragon Hall ชั้น 5 สยามพารากอน (ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสมรสที่สยามพารากอน เพียง 20 บาทเท่านั้น)
สำหรับกรณีคู่ที่ต้องการจดทะเบียนสมรสหลังจากงานวันที่ 23 มกราคม 2527 และไม่ใช่ที่ Paragon Hall ชั้น 5 สยามพารากอน มีรายละเอียดดังนี้
สถานที่รับจดทะเบียนสมรส
สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนเขต และสถานทูต/กงสุลไทยในต่างประเทศทุกแห่ง
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท
- "ป๋าต๊อบ-ปีใหม่" เตรียมจดทะเบียนสมรส พร้อมเซ็นยกสมบัติให้
- สรุปครบจบที่เดียว! เปิดกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ทั้ง 4 ฉบับ เหมือนและต่างกันอย่างไร
คุณกำลังดู: "จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม" เตรียมตัวอย่างไร คุณสมบัติแบบไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
หมวดหมู่: ผู้หญิง