อาหารเป็นพิษ นานาวิธีรักษาและป้องกัน

อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการกินอาหาร เข้าไปแล้วมีอาการ บางคนก็เร็ว

อาหารเป็นพิษ นานาวิธีรักษาและป้องกัน

รับมือท้องร่วงรุนแรงหน้าร้อน

โรคท้องร่วง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสโปรโตซัว ซึ่งทำให้เรามีอาการถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด อาเจียน และมักมีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย หรือเรียกกันว่า อาหารเป็นพิษ

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป อธิบายถึงสาเหตุกับอาการของโรคว่า “ถ้าอุจจาระร่วงหรือท้องร่วงในเชิงการแพทย์จะตีความว่าถ่ายเหลว 3 ครั้ง บางครั้งกึ่งเหลวและเป็นน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าถ่ายเป็นน้ำไหลโจ๊กครั้งเดียวก็ถือว่าท้องร่วง นี่คือนิยาม

“และจะเกี่ยวเนื่องกับ อาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการกินอาหาร เข้าไปแล้วมีอาการ บางคนก็เร็ว ไม่กี่ชั่วโมง บางคนก็ประมาณ 24 ชั่วโมง อาการของอาหารเป็นพิษที่เด่น จะเกิดขึ้นที่ทางเดินอาหาร คือมีอาการอาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลว

“ที่ผ่านมาในบ้านเราปีหนึ่งเราพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษประมาณเดือนละ 10,000 รายต่อเดือน เนื่องจากการปรุงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษซึ่งบางครั้งจะเชื่อมโยงกับ โรคอุจจาระร่วง เราจึงต้องดู 2 โรคไปพร้อมๆ กัน

“ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญก็คือการถ่ายเป็นน้ำ เพราะทำให้เสียน้ำกับเกลือแร่ ส่งผลให้เกิดอาการช็อก ชัก และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ก็ยังมีเชื้อบางสายพันธุ์ที่มีอาการรุนแรงจนอาจทำให้เกิดภาวะแทรก ซ้อนรุนแรง เช่น ไตวาย

“จริงๆ แล้วโรคนี้สามารถหายได้เอง มีข้อมูลชัดเจนจากองค์กรอนามัยโลกว่าการให้ดื่มผงเกลือแร่ จะช่วยลดอัตราตายลง ส่วนในประเทศไทยจากการที่เรารณรงค์ให้ประชาชนดูแลตัวเองที่บ้านโดยการดื่ม น้ำเกลือแร่ อัตราการตายก็ลดลงเยอะ”

ว่าด้วยเรื่องท้องร่วงหน้าร้อน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงสาเหตุของโรคท้องร่วงที่สัมพันธ์กับฤดูกาลว่า ช่วงที่คนท้องเสียกันเยอะโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนต่อหน้าฝน บางคนก็เป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในช่วงหน้าร้อนต่อหน้าฝนจะมีภาวะเปียก แฉะ และร้อนชื้น ความหนาแน่นของประชากร สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีนัก ส่วนโรคท้องร่วงในหน้าร้อนจะมีการพัฒนาของสายพันธุ์เพิ่มขึ้นหรือไหมนั้น ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี อธิบายว่า

“จริงๆ มีรายงานถึงสายพันธุ์ใหม่ของเชื้ออหิวาห์ตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเมื่อก่อนเราเชื่อว่ามีสายพันธุ์เดียวคือ โอ1 แต่เมื่อปี 2535 มีการระบาดในแถบอินเดียตอนใต้ และบังคลาเทศ ตลอดจนพม่าและไทยเป็นสายพันธุ์ที่เรียกว่า โอ139 ซึ่งทำให้เกิดอหิวาตกโรค และท้องร่วงอย่างรุนแรงได้ ทั้งนี้จะอาการมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน”

นานาวิธีรักษาและป้องกัน

การรักษาดูแล เมื่อป่วยเป็นโรคท้องร่วงแล้วสิ่งที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

1 ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (สูตรขององค์การเภสัชกรรม หรือองค์การอนามัยโลก) โดยจิบที่ละนิดบ่อยครั้งในปริมาณเท่ากับปริมาณอุจจาระที่ถ่ายออกมาแต่ละ ครั้ง เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่

หากเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ควรให้ดื่มครั้งละ ¼ - ½ แก้ว โดยใช้ช้อนค่อยๆ ป้อนทีละ 1 ช้อนชา ทุก 1-2 นาที ไม่ควรให้เด็กดูดจากขวดนม เพราะเด็กที่มีอาการขาดน้ำจะกระหายน้ำและดูดอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายดูดซึมไม่ทัน จนเกิดอาเจียนและถ่ายมาก

ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือนม ควรให้อาหารเหลวบ่อยครั้ง เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด และนมแม่ สำหรับเด็กที่ดื่มนมผสม อาจผสมนมเหมือนเดิมแต่ลดปริมาณลงและให้สลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่

หาก เด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรดื่มครั้งละ ½ - 1 แก้ว โดยดื่มทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นจึงหยุดดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ และกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย จะช่วยให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็ว

2 หากมีอาการผิดปกติควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เช่น ถ่ายหรืออาเจียนไม่หยุดมากกว่า 4 ครั้ง หิวน้ำตลอดเวลา หรือปัสสาวะไม่ออก (แสดงว่าขาดน้ำมาก) หน้ามืด ช็อก หรือหมดสติ มีไข้ ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือเวลาถ่ายแล้วปวดเบ่งตลอดเวลา (อาการของบิด)

3 ขับถ่ายในสุขภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะและล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังการขับถ่าย เนื่องจากอหิวาตกโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อง่ายและแพร่ระบาดได้

4 กำจัดอาเจียนของผู้ป่วย โดยเททิ้งลงในส้วม ราดน้ำให้สะอาด แล้วใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาฟอกผ้าขาว ราดซ้ำ

5 รักษาความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย รวมทั้งซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัวของผู้ป่วยให้สะอาด และนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค

6 ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยควรหมั่นล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อปนเปื้อนจากมือสู่อาหารและเกิดการติดโรคได้

ข้อห้ามเมื่อท้องร่วง

นายแพทย์โอภาสกล่าวถึงข้อห้ามเมื่อเกิดอาการท้องร่วง ดังนี้

1 ห้ามรับประทานยาฆ่าเชื้อ เพราะบางทีท้องร่วงมีหลายสาเหตุ ไม่ได้เกิดเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย อาจเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งยังไม่มียาฆ่าเชื้อ กินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียลงไปก็ไม่หาย สิ้นเปลืองเงินและทำให้เชื้อดื้อยา

2 ห้ามรับประทานยาห้ามถ่าย การถ่ายเป็นกลไกของร่างกายในการขับเชื้อโรคและของเสียออกจากร่างกาย หากรับประทานยาห้ามถ่ายเข้าไปจะทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง จากเดิมที่ลำไส้เคยบิดตัวเพื่อไล่ของเสียออกไปลำไส้ก็จะอยู่นิ่งๆ ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น

การป้องกัน

1 ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรรณีอธิบายว่าการล้างมือบ่อยๆ จะช่วยลดการแพร่เชื้อท้องเสียระหว่างคนต่อคนได้ ควรล้างด้วยสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร

2 ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ต้องมีการล้างผ่านน้ำหลายๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำเกลือ หรือน้ำผสมเบกิ้งโซดา

3 แยกอาหารที่เป็นวัตถุดิบกับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว เพราะบางครั้งเนื้อสัตว์หลายชนิดจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจึงควรแยกออกจาก กัน (ถ้าจะให้ดีควรงดเนื้อสัตว์ปเลยดีกว่าค่ะ)ในการเก็บในตู้เย็นก็ไม่ควรวางปน กัน อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรใส่ภาชนะที่ปิดสนิท

4 รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ที่สำคัญการปรุงควรถูกต้องตามเกณฑ์ เช่น ถ้าจำเป็นต้องเก็บมารับประทานใหม่ ควรทำให้ร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส โดยสังเกตง่ายๆ คือถ้าน้ำเดือดปุ๊บๆ แสดงว่าอุณหภูมิ 100 องศาเซียสแล้ว จึงจะปลอดภัย

5 การเลือกวัตถุดิบที่ถูกสุขลักษณะ ผักผลไม้ควรเลือกที่สดและสะอาด เสียเวลาในการเลือกนานขึ้น แต่สบายใจเมื่อนำมารับประทาน

6 ล้างภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง เช่น เขียงกับมีด ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุง และควรใช้ช้อนกลางขณะที่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

7 เก็บอาหารไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพราะอุณหภูมิที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีคือ 5-60 องศาเซียส ถ้าต่ำกว่า 5 องศา เชื้อโรคจะไม่เจริญเติบโตแต่ไม่ตาย เพราะฉะนั้นอาหารที่เราเก็บไว้ในตู้เย็นควรอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง

8 ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ต้องนั่งรถนานๆ เพราะอาหารเหล่านั้นอาจบูดเน่าได้ง่ายหอยแครงควรลวกอย่างน้อย 1-2 นาที การรับประทาน

9 หอยแครงให้อร่อยและปลอดภัยควรนำไปลวกในน้ำเดือดในเวลาดังกล่าว ซึ่งจะสามารถฆ่าเชื้อโรคและคงรสชาติไว้ได้

10 น้ำดื่มควรต้มให้สุกทุกครั้ง โดยเฉพาะน้ำดื่มตามตู้กดน้ำอาจไม่ได้มาตรฐาน และมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้

ทางเลือกดูแลตัวเองแบบชีวจิต

อาจารย์สาทิสแนะนำวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากอาหารเป็นพิษว่า “ในหนังสือ DR.HEIMLICH’S HOME GUIDE TO EMERGENCY MEDICAL SITUATION ได้แนะนำไว้ว่า หากจะต้องไปกินอาหารในสถานที่ไม่ถูกสุขอนามัยควรดื่มน้ำมะนาว (มะนาว 1-2 ลูก) เสียก่อน หรือถ้ามียาทำจากเชื้อ ACIDOPHILUS ก็ควรกินไว้ก่อน 3 แคบซูล ซึ่งเชื้อ ACIDOPHILUS เป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่อยู่ในนมเปรี้ยว

“ที่ต้องระวังมากที่สุดคือ อาการท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียนของเด็กๆ การท้องเดินและอาเจียนจะทำให้เด็กเสียน้ำหรือแร่ธาตุในตัวมากจะทำให้เกิด อาการช็อกได้ นายแพทย์ไฮม์มิดแนะนำให้ผสมน้ำหนึ่งถ้วยกับน้ำตาลหนึ่งช้อนชา และเบกิ้งโซดากับเกลือ 1-4 ช้อนชาให้เด็กดื่ม ถ้ายังมีอาการอยู่ต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที

“และที่ต้องระวังอีกอย่างคือ น้ำดื่ม กับน้ำแข็ง เพราะหน้าร้อนแบบนี้เราจะชอบดื่มน้ำกับน้ำแข็งมาก น้ำแข็งก้อนก็มักจะผลิตจากน้ำประปาไม่ทัน บางร้านก็ใช้น้ำอะไรก็ได้มาผลิต และถ้าไปต่างจังหวัดเห็นน้ำขวดยี่ห้อแปลก ก็ไม่ควรไว้วางใจ “นอกจากนี้หากเดินทางไปต่างจังหวัดด้วยรถไฟหรือรถทัวร์ก็ไม่ควรดื่มน้ำแข็ง ถุง โอเลี้ยง หรือน้ำอัดลมเป็นอันขาดเชียวครับ”

คุณกำลังดู: อาหารเป็นพิษ นานาวิธีรักษาและป้องกัน

หมวดหมู่: รู้ทันโรค

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด