ทำไม “นอนเยอะ” แต่ยังง่วง-อ่อนเพลีย?
บางคนนอนแค่ 4-5 ชม. แต่สดชื่นแจ่มใสสุดๆ แต่อีกคนนอนเกือบ 10 ชม. แต่ยังเพลียตลอดเวลา เป็นเพราะอะไร?
“เราอยู่ในยุคที่มือถือแบตอึด ชาร์จเร็ว จนเล่นสนุกทำงานเพลิน และเผลอลึมนึกไปว่า ร่างกายเราแบตหมดง่ายกว่า และยังชาร์จแบตช้าถึงคืนละ 7-8 ชม.กว่าจะแบตเต็ม”
พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) กล่าวเอาไว้ใน Twitter @thidakarn ถึงความสำคัญของการพักผ่อนในแต่ละวันของเรา เพื่อให้เรามีพลังงานมากพอที่จะทำงาน และทำกิจกรรมในแต่ละวันได้โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลีย แต่มีบางคน (หรือหลายคน) ที่อาจมีปัญหา “แบตร่างกายเสื่อม” ชาร์ตเท่าไรก็ไม่เต็ม แถมยังแบตหมดไวอีกต่างหาก หมายถึงการนอนหลับมากเท่าไร ก็ยังไม่รู้สึกสดชื่นแจ่มใสพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ แถมยังอ่อนเพลียง่ายภายในเวลาไม่นานอีกด้วย เรื่องนี้คุณหมอผิงมีคำอธิบาย
>> “ยีนนอนน้อย” คำอธิบายของคนที่นอนไม่กี่ชั่วโมง
แต่สดใสเหมือนนอนเต็มที่
ทำไมนอนเยอะแต่ยังง่วง-อ่อนเพลีย?
- ถ้านอนหลับไม่ลึก นอนกรน
เหมือนหยุดหายใจขณะนอน ควรปรึกษาแพทย์
- ถ้าอ่อนเพลีย ขี้หนาว อ้วนง่าย ท้องผูก
ควรไปตรวจธัยรอยด์
- ถ้าตรวจร่างกายทุกอย่างปกติ ต้องลองถามตัวเองว่า งานที่ทำ ชีวิตที่ใช้ มันใช่รึป่าว เพราะการฝืนทำสิ่งที่ไม่ใช่อาจส่งผลให้แบต (ร่างกาย) เสื่อม
หากรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาในการนอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์
แต่หากไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย อาจจะเกิดจากความเครียด
หรือพฤติกรรมในการนอนของเราที่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้โดยการเข้านอน
และตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน สร้างนาฬิกาชีวิตให้เป็นเวลาเดิมๆ
ก่อนนอนไม่รับประทานอาหาร หรืออาจจะแค่ดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอนเท่านั้น
นอกจากนี้การจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนก็สำคัญ ควรใช้แสงไฟสลัว
หรือปิดไฟก่อนเข้านอน ไม่เล่นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน
เพราะแสงจากหน้าจอจะทำให้เราตื่นตัว
>> “นอนมากแต่ยังง่วง” เพราะกำลังนอนอย่าง “ไร้คุณภาพ” หรือเปล่า?
>> “นอนชดเชย” ในวันหยุด แก้ปัญหานอนไม่พอได้จริงหรือ?
>> นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะ “พอดี” กับ “อายุ”
คุณกำลังดู: ทำไม “นอนเยอะ” แต่ยังง่วง-อ่อนเพลีย?
หมวดหมู่: สุขภาพ